โครงการและกำหนดการจัดงาน
โครงการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตและงานสมโภช ๒๐ ปีวัดป่าสันติธรรม พร้อมกำหนดการและคณะกรรมการจัดงานในครั้งนี้
ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วัดป่าสันติธรรม ร่วมกับ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
“ลูกนิมิต” ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหินใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ” ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า “ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม”
สรุปแล้ว “ลูกนิมิต” ก็คือ ลูกหินกลม ๆ มีขนาดเท่าบาตรของพระสงฆ์ ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า ตรงไหนเป็นเขตของอุโบสถหรือโบสถ์เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง เพราะคำว่า “ นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย”
อุโบสถ (อ่านว่า อุโบสด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง “สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้มาอุปสมบทบรรพชามากขึ้น อีกทั้งภายในพระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการะบูชา และ ร่วมทำบุญเป็นจำนวนมากพระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวร และมักมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ในวันพระทุกกึ่งเดือน ขึ้น ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ หรือ การอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุ หรือการสวดเข้าอยู่ปริวาสกรรม ของพระภิกษุสงฆ์ หรือสังฆกรรมใด ๆ ที่ต้องเกิดขึ้นในอุโบสถ ตามพระวินัยบัญญัติ เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์ โปรดอ่านต่ิด้านล่าง
โครงการจัดงานทำบุญผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตอุโบสถ และฉลองครบ ๒๐ ปี
วัดป่าสันติธรรม มลรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
วันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
***************************
๑.หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยวัดป่าสันติธรรม เริ่มก่อตั้งเป็นธรรมานุสรณ์ เมื่อปีทำบุญอายุวัฒนมงคลครบ ๗๒ ปี พระมหาสุรศักดิ์ ชีวานนฺโท(ธรรมรัตน์)/พระราชมงคลรังษี/หลวงตาชี เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบันมีอายุครบปีที่ ๒๐ ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ วัดป่าสันติธรรมได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ ยังไม่ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาตัดหวายฝังลูกนิมิต ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อสืบทอดพุทธประเพณีอันดีงาม จึงสมควรดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา ทั้งสร้างศรัทธาแก่สาธุชน และดำเนินการถวายโรงอุโบสถแก่สงฆ์ต่อไป
ดังนั้น คณะสงฆ์ อุบาสกอุบาสิกาจึงได้ประชุมมีมติเห็นสมควร จัดงานทำบุญครบ ๒๐ ปี วัดป่าสันติธรรม และประกอบพิธีพัทธสีมา ตัดหวาย ฝังลูกนิมิต อุโบสถ เนื่องในโอกาสอายุวัฒนมงคลครบ ๙๒ ปีของพระเดชพระคุณ พระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.) วัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อรักษาซึ่งพุทธประเพณีอันดีงามของพระพุทธศาสนา
๑.๒ เพื่อสร้างความรักสามัคคีของพุทธบริษัท ในการร่วมกันสืบสานงานพระพุทธศาสนา
๑.๓ เพื่อส่งเสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑.๔ เพื่อร่วมน้อมถวายมุทิตาสักการะแด่พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) องค์อุปถัมภ์วัด เนื่องในโอกาสเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๙๒ ปี (วัดป่าสันติธรรมเริ่มสร้างเมื่อฉลองอายุ ๗๒ ปีหลวงตาชี)
๑.๕ เพื่อร่วมประกาศเกียรติคุณ ยกย่องเชิดชู ผู้มีอุปการะ ที่ได้ร่วมสร้างวัดป่าสันติธรรม
๓. สถานที่ดำเนินการ วัดป่าสันติธรรม มลรัฐเวอร์จิเนีย
๔. ระยะเวลาดำเนินการ วันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ ลงทะเบียน ปฏิบัติธรรม
วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๐ ทำบุญ และพิธีพุทธบูชา-พุทธาภิเษก
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ พิธีพัทธสีมา ตัดหวาย ฝังลูกนิมิต
๕. ขั้นตอนดำเนินงาน
๕.๑ จัดทำรายละเอียดโครงการ กำหนดการ แผนการจัดงาน
๕.๒ นำเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์และคณะกรรมการวัด
๕.๓ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดงาน และมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
๕.๔ ประชุมคณะกรรมการ และติดตามการดำเนินการเป็นระยะๆ
๕.๕ ประชาสัมพันธ์การจัดงาน และติดต่อประสานงานการจัดงาน
– ประกาศตามสื่อทั้งหนังสือพิมพ์, ทีวี(ช่องลาว, ไทย), อินเตอร์เน็ต
– ติดประกาศตามร้านอาหาร, ร้านขายสิ่งของต่างๆ และวัดต่างๆ
– เชิญชวนให้ผู้มีจิตศรัทธา, ร้านอาหารต่างๆ ร่วมเปิดโรงทานบริการอาหาร
– ขอเชิญชวนท่านผู้มีจิตศรัทธาตั้งต้นกัลปพฤกษ์ (ต้นผ้าป่า)
– รับบริจาคสิ่งของทำสอยดาว, Yard Sale (เพื่อหารายได้เข้าวัด)
– ยืมหรือจัดหาเต้นท์, โต๊ะ, เก้าอี้, ห้องสุขาเคลื่อนที่
๕.๖ ดำเนินงานตามโครงการ
๕.๗ สรุปผลการดำเนินงาน
๖. งบประมาณ
คาดว่างานครั้งนี้ จะใช้งบงบประมาณจัดงาน ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
๖.๑ รายรับจากการจัดงาน ประชาสัมพันธ์ผู้มีจิตศรัทธาจองเป็นเจ้าภาพลูกนิมิต
– ลูกเอก (ลูกประธาน) จำนวน ๑ ลูก โดยขอกราบพระเดชพระคุณ พระราชมงคลรังษี เป็นประธาน
(กำหนดจองเป็นเจ้าภาพลูกนิมิต ๒๙,๙๙๙.๙๙ ดอลล่าร์)
– ลูกรอง จำนวน ๘ ลูก เป็นเจ้าภาพ กำหนดจองเป็นเจ้าภาพ ลูกละ ๙,๙๙๙.๙๙๙ ดอลล่าร์
– ลูกนิมิตบริวาร ๙๙ ลูก กำหนดจองเป็นเจ้าภาพลูกละ ๙๙๙.๙๙๙ ดอลล่าร์
– ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคบูชาดอกไม้ธูปเทียน แผ่นทองปิดลูกนิมิต (ตามกำลังศรัทธา)
รวมบริจาคตามรายการเจ้าภาพลูกนิมิต คาดว่าจะได้รับกองทุนฯ จำนวน ๒๐๘,๙๙๘.๙๒ ดอลล่าร์
๖.๒ งบประมาณคาดว่าจะต้องใช้จ่าย (ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ดอลล่าร์)
– ค่าวัสดุอุปกรณ์เตรียมสถานที่, ทำลูกนิมิต เอกสาร ประชาสัมพันธ์ = ๓๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
– ค่าของที่ระลึก ไทยธรรม = ๑๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
– ค่าเช่าที่พัก (โรงแรม) = ๑๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
– ถวายพระสงฆ์เดินทางมาร่วมสังฆกรรมสวดถอนประมาณ ๑๐๐ รูป = ๓๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
– ถวายพระมหาเถระ นำประกอบพิธีพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ๑๐ รูป = ๕,๐๐๐ ดอลล่าร์
– ค่าจัดทำอาหาร เครื่องดื่ม = ๑๐,๐๐๐ ดอลล่าร์
– อื่นๆ = ๕,๐๐๐ ดอลล่าร์
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ
๗.๑ พระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาวัดป่าสันติธรรม
๗.๒ คณะสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาจากวัดต่างๆ เช่น วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี., วัดป่าธรรมรัตน์
๗.๓ สมาคม องค์กร และกลุ่มต่างๆ
๗.๔ พุทธศาสนิกชนทั่วไป
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ ได้ส่งเสริมการศึกษา การประชาสัมพันธ์เผยแผ่ พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ
๘.๒ ได้สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวพุทธ และพี่น้องศาสนิกชนอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา
๘.๓ วัดป่าสันติธรรมได้เป็นศูนย์ส่งเสริม สร้างความร่วมมือทางด้านศาสนา การศึกษา ระบบท้องถิ่น และบริการสังคมให้ชาวพุทธ และศาสนิกชนอื่นๆ และชาวอมริกัน
๘.๔ ได้จัดหาทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติม และเป็นกองทุนสร้างเสนาสนะตามโครงการของวัดต่อไป
๘.๕ ได้น้อมถวายเป็นพุทธบูชา และเนื่องในโอกาสทำบุญฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๒ ปี ได้น้อมถวายสักการะแด่พระราชมงคลรังษี/หลวงตาชี องค์อุปถัมภ์ของวัดป่าสันติธรรม ซึ่งได้เมตตาอนุเคราะห์วัดป่าสันติธรรมตลอดมา
๙. ผู้รับผิดชอบและบุคคลติดต่อประสานงาน
๙.๑ พระมหาอุดม ปภงฺกโร ประธานสงฆ์วัดป่าสันติธรรม
๙.๒ พระวิเทศรัตนาภรณ์ เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ประธานอำนวยการวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.
๙.๓ พระครูโสภณศาสนวิเทศ รองเลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา หัวหน้าสงฆ์วัดพุทธมงคลนิมิต นิวเม็กซิโก
๙.๔ พระครูปริยัติธรรมาภิราม ที่ปรึกษาวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี. ประธานสงฆ์วัดป่าวิเวกจันทราราม สกลนคร
๙.๕ พระครูสุธีธรรมธร รองเจ้าคณะอำเภอหนองหาน เจ้าอาวาสวัดศรีทรงธรรม อุดรธานี
๙.๖ พระครูปลัดปราโมช อภิปญฺโญ ประธานสำนักปฏิบัติธรรมวัดเชิงผา สุโขทัย
๙.๗ พระอาจารย์สุทิน วัดแก้วฟ้า นนทบุรี
๙.๘ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ หัวหน้าสงฆ์วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
๙.๙ คุณสุพัฒน์ อินทร์สามรัตน์ กรรมการที่ปรึกษา วัดป่าสันติธรรม
๙.๑๐ คุณศรายุทธ แย้มบาล รองประธานอำนวยการ วัดป่าสันติธรรม
๙.๑๑ คุณสมาน จันทะนามศรี เลขานุการ วัดป่าสันติธรรม
๙.๑๒ ผศ.ดร.พุฒฑจักร สิทธิ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
……………………..
การพัทธสีมาพิธีอุโบสถและสมโภช ๒๐ ปี วัดป่าสันติธรรม
ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
วัดป่าสันติธรรม ร่วมกับ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
กำหนดการ
วันศุกร์ ที่ ๑๖ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๗.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ๑๐๐ รูป
เวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาภาคเช้า
เวลา ๑๐.๓๐ น. พักการปฏิบัติ
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ๓๐๐ รูป
เวลา ๑๓.๐๐ น. เริ่มการปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาภาคบ่าย
เวลา ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น รายการ”ธรรมวาไรตี้” โดย พระเถระจากเมืองไทย
วันเสาร์ที่ ๑๗ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๗.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ๑๙๐ รูป
เวลา ๐๙.๐๐ น. เริ่มปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาภาคเช้า
เวลา ๑๐.๓๐ น. พักการปฏิบัติ
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ๓๐๐ รูป
เวลา ๑๓.๐๐ น. เริ่มการปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาภาคบ่าย
เวลา ๑๘.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ “การพัทธสีมาพิธีอุโบสถและสมโภช ๒๐ ปี วัดป่าสันติธรรม”
เวลา ๐๖.๐๐ น. ทำวัตรเช้า
เวลา ๐๗.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ ๓๐๐ รูป
เวลา ๐๙.๓๙ น. พระสงฆ์ ๑๐๙ รูป ออกรับบิณฑบาตปัจจัย
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ ๓๐๐ รูป และพิธีทอดถวายผ้าป่า ๒,๖๐๐ กอง
-สาธุชนรับประทานอาหารที่โรงทาน
เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะสงฆ์และสาธุชนทั้งหลายพร้อมเพรียงกันในมณฑลพิธีหน้าอุโบสถศาลา
เวลา ๑๓.๓๐ น. แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์
เวลา ๑๔.๐๐ น. คณะประธานในพิธีเดินทางมาถึง
– จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
– พระมหาอุดม ปภงฺกโร กล่าวถวายรายงานการสร้างวัดแด่..เดชพระคุณ พระเทพพุทธวิเทศ
– ประธานในพิธี กล่าวสัมโมทนียกถา
– ฯพณฯ พิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประธานในพิธีฝ่ายคฤหัสถ์ กล่าวสุนทรพจน์ เสร็จแล้วรับของที่ระลึก
เวลา ๑๕.๐๐ น. พิธีถวายโรงอุโบสถแด่พระสงฆ์ และทอดผ้าป่าสามัคคี ๗๖ กอง โดยสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาฯ และสาธุชนทั่วไป
– พิธีสวดถอนติจีวราวิปวาส สมานสังวาสสีมา
– เจ้าภาพลูกนิมิตเข้ารับอุปกรณ์ตัดหวายลูกนิมิตจากประธานในพิธี แล้วเข้าประจำที่สะดืออุโบสถธรรมศาลา
– คณะศรัทธา เจ้าภาพลูกนิมิต (ลูกเอก) ร่วมกับ พระราชมงคลรังษี ประธานในพิธีตัดหวายลูกนิมิต
– เจ้าภาพทั้งหมดตัดหวายลูกนิมิตโดยพร้อมเพรียงกัน
– พระสงฆ์เจริญชยมงคลคาถา
– พิธีทักนิมิต สมมติสีมา -พระสงฆ์อนุโมทนา
– สาธุชนกรวดน้ำ รับพร รับน้ำพระพุทธมนต์
– เจ้าภาพถวายจตุปัจจัย-ไทยธรรม
เวลา ๑๗.๐๐ น. พิธีบรรพชาอุปสมบทฉลองอุโบสถ
– พระสงฆ์ ทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์พิเศษสมโภชอุโบสถ
เสร็จแล้วเป็นอันจบพิธี
* หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
พระราชมงคลรังษี จำนวน $29,999.99
คณะศิษยานุศิษย์ น้อมถวายแด่… พระเดชพระคุณพระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี)
1. สายบุญคุณมาลินี วังศะเมธีกุร พร้อมคณะ
2. สายบุญคุณสมปอง เบร์ พร้อมคณะ
รายนามเจ้าภาพลูกนิมิต 8 ทิศ ลูกละ $ 9,999.99
ลูกที่ | ลูกนิมิตร | เจ้าภาพ |
1. | ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) | ร้านไทยเอราวัณ |
2. | ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) | ยังไม่มีเจ้าภาพ |
3. | ทิศทักษิณ (ทิศใต้) | นพ. ธวัชชัย-คุณบุปผา อ่อนสนิท |
4. | ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) | คุณบี Carriger Family |
5. | ทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก) | ยังไม่มีเจ้าภาพ |
6. | ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) | วัดมั่งมีศรีสุข |
7. | ทิศอุดร (ทิศเหนือ) | ร้าน Thai Papaya |
8. | ทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) | ยังไม่มีเจ้าภาพ |
รายนามเจ้าภาพลูกนิมิตบริวาร 99 ลูก ลูกละ $ 999.99
ลูกที่ | เจ้าภาพ |
1 | คุณสมาน-สมัญญา จันทะนามศรี |
2 | ครอบครัวศักดิ์มังกร |
3 | คุณนุกูล เคเนดี้ และครอบครัว |
4 | พ.ม. ปิยะ อุตฺตมปญฺโญ พ.ม. สายันต์ อคฺควโร พ.ม.คำตัน พุทฺธงฺกุโร พ.ม. ศรีสุพรณ์ อตฺตทีโป |
5 | คุณจำเนียร น้ำใส และครอบครัว |
6 | คุณวิเชียร น้ำใส และครอบครัว |
7 | คุณอุไร ตะสิทธิ์ และครอบครัว |
8 | ญาติธรรมวัดป่าธรรมรัตน์ |
9 | คุณจีรนันท์ บุญปก |
10 | คุณมานี Walter คุณกองแก้ว Westman |
11 | ร้านอาหารกรุงไทย แฮมตัน VA |
12 | คุณกมลทิพย์ เสือคง |
13 | คุณลัดดา Russell และครอบครัว |
14 | คุณพัทยา Zeppetello และครอบครัว |
15 | คุณรสริน (อ้อม) Vogel และครอบครัว |
16 | ครอบครัว อุปยะโส |
17 | วาระถวายเพลวันศุกร์ |
18 | คณะโรงทานวัดป่าสันติธรรม |
19 | ครอบครัวผูกจิตร |
20 | คุณบุญฤทธิ์ /คุณมุทิตา งามสะอาด/ร้านธิดาไทย |
21 | ครอบครัว โกมลวาจ |
22 | คุณแม่ละออ-คุณพ่อแสวง จิตร์เพชร |
23 | คุณสำรอง-คุณนวลน้อย จารุธวัช และครอบครัว |
24 | ร้าน Langley Thai Cuisine |
25 | คุณฉวี/คุณ Ronald Simmons/คุณศศิธร Hill |
26 | คุณสมศักดิ์ ด่านชาญกิจ และครอบครัว |
27 | คุณประมวล และคุณRobert Dennis(Thai Moon) |
28 | คุณพรศรี Gladding |
29 | คุณสาย Gaskill คุณบังอร Fountain |
30 | น.พ.บุญยง คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา |
31 | น.พ.บุญยง คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา |
32 | น.พ.บุญยง คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา |
33 | น.พ.บุญยง คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา |
34 | น.พ.บุญยง คุณเบญจรัตน์ พฤฒิธาดา |
35 | คุณฏาวรรณ เศรษฐจิรวิโรจน์ และครอบครัว คุณนันทนา ปิ่นทองคำ |
36 | คุณนิตยา Dunn และเพื่อน |
37 | อุทิศส่วนกุศลให้แก่คุณทัศนีย์ Kidds,คุณฉวี Anderson,คุณอุบลรัตน์ Forsyth |
38 | คุณศศิธร Hill คุณบุญเรียง Hemlin คุณสมใจ Phillip คุณแดง แสงประพันธ์ คุณมะลิ Snell คุณบุญมี Schaedler |
39 | สมาคมไทย-อเมริกัน แฮมตันโรดส์ |
40 | คุณวิมลวรรณ สุขประสงค์ |
41 | |
42 | |
43 | |
44 | |
45 | คุณสุนีย์ Jennings, คุณสุภา Bowling |
46 | |
47 | |
48 | |
49 | กลุ่มรวมบุญอังสนา สปิลเลอร์ คุณวัลยา ดวงบุปผา |
50 | |
51 | คุณ หนูนิ่ม Starr |
52 | |
53 | |
54 | คุณประนอม จาบกุล และชาวโอไฮโอ |
55 | |
56 | คุณRobert/คุณTanyawalai Taylor |
57 | คุณเฉลิมศักดิ์/คุณกัญทิมา/คุณIleha งามสะอาด |
58 | |
59 | คุณป้าเกตุ Adam คุณบุญถม Clemon |
60 | คุณมนตรี/คุณสังวาลย์ Lorah และครอบครัว |
61 | คณะญาติโยมวัดธรรมารามนำโดยพระวรญาณวิเทศ(พะยอม) |
62 | |
63 | |
64 | คุณอภิชาติ วิลาสศักดานนท์ คุณสารที วิลาสศักดานนท์ |
65 | ร้านอาหาร Thai Diner Golden Skillet |
66 | พระมหาทองจันทร์ สุวังโส (วัดทองธรรมชาติ ลาสเวกัส) |
67 | |
68 | คุณ Mark Jendong, Nasupachok,Watana Jendong |
69 | วาระถวายเพลวันพุธ คุณละเอียด Sack คุณตุ่น Rivera คุณบุญช่วย Simmon คุณทองม้วน Milosavljevic |
70 | คุณศุภธร พงษ์กิจการุณ/คุณปิยมิตรา ธนะโสภณ |
71 | |
72 | คณะญาติโยมจากRichmonที่มาทำบุญวันที่19มีนาคม2017 |
73 | |
74 | |
75 | คุณวิชัย/คุณพวงทอง มะลิกุล |
76 | |
77 | Vilai Thai kitchen |
78 | คุณกันยา สว่างโรจน์ |
79 | พ่อตู้สมดี พุทธเสน พร้อมลูกหลาน |
80 | พระเทพพุทธิวิเทศ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทย และญาติโยมชาววัดพุทธาวาส |
81 | คุณทัฬห์ พงษ์วรินทร์ คุณอัตวุฒ พงษ์วรินทร์ คุณบุญณ์ภัสร พงษ์วรินทร์ คุณศรสวรรค์ พงษ์วรินทร์ คุณแสงจันทร์ Robinson |
82 | |
83 | |
84 | คุณPenny Gay |
85 | คุณPenny Gay |
86 | คุณสุวิมล รามโกมุท |
87 | คุณอรพรรณ ดีวอยและครอบครัว |
88 | คุณบัวลี Grasse คุณประทิน Trujillo |
89 | คุณสุพัฒ์ Adalem ร้าน Bangkok Garden |
90 | นางสาวแอนจิรา กิ่งกิตติศักดิ์ ร้าน Ginger Thai Richamond |
91 | นายโจเซ็ฟ กิ่งกิตติศักดิ์ ร้าน Ginger Thai Richamond |
92 | สมาคมศิษย์เก่า มจร แห่งกรุงวอชิงตัน ดีซี |
93 | คุณสมศรี และDan Rodrck คุณสุวัฒนา Miller และครอบครัว คุณนริสา Tran และครอบครัว |
94 | คุณจิระวัฒน์ ขำผ่อง อุทิศแด่คุณพ่อผาย คุณแม่เสงี่ยม คล้ายปัญญา |
95 | ครอบครัวลอยคอออด คุณฤดี Jacobs คุณบุญอนันต์/คุณจินตนา จันทรสุข คุณสาคร/คุณสุรีย์ ยูมะกุล คุณอาทิตย์/คุณหนึ่ง/คุณฟ้า สรรพอาษา คุณอรจิตร Murphy |
96 | คุณประวงค์ เปรมวัตร คุณเอมอร ขำผ่อง, คุณสิริกันย์ ธรรมประเสริฐ, คุณอนงค์ เอี่ยมบำรุง คุณลองรัก-วราลี-เนติธร ภูศรี คุณนาริน พลอยจีน – คุณโม Tran คุณบุญหลง วชิรปัญญา คุณนฤมล จิงประเสริฐ |
97 | ครอบครัวฤทธิ์ถาวร คุณพ่อโจ คุณแม่วณี ฤทธิ์ถาวร Richard -กษินา ฤทธิ์ถาวร Ryan – นันทนา – Kevin – Irisa ฤทธิ์ถาวร คุณปวีณา ฤทธิ์ถาวร คุณนิรภัทร์ – เพลิง หอมหวล Sam ฤทธิ์ถาวร ใบบุญ – แสงจันทร์ เหมมาลา |
98 | พระครูสุธีธรรมธร(อำพล สุธีโร) คุณแม่สมศรี มาแตง (ร้านเรือนไทย) คุณแม่สมทรง ปสังคมาน และสายญาติธรรม |
99 | คุณป้าลี แฮมตัน คุณป้ามะลิ(แดง) Rhodes คุณสมัย Paula คุณนวรัตน์ ไชยา |
รายนามเจ้าภาพใบเสมาธรรมจักร จำนวน 8 ชุดๆละ $ 799.99
ลำดับที่ | ใบเสมา | รายชื่อเจ้าภาพ |
1. | ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) | พระวิเทศธรรมคุณ(ศักดิ์ชัย ฐิตเมโธ) |
2. | ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) | พระมหามนตรี วฑฺฒโน |
3. | ทิศทักษิณ (ทิศใต้) | นพ. ธวัชชัย-คุณบุปผา อ่อนสนิท |
4. | ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) | |
5. | ทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก) | พนักงานร้านThai Papaya#2 |
6. | ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) | |
7. | ทิศอุดร (ทิศเหนือ) | คุณศศิธร Hill คุณฉวี Simmon คุณแดง แสงประพันธ์ |
8. | ทิศอิสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) | พระมหามนตรี วฑฺฒโน |
รายนามเจ้าภาพบริจาคอุปกรณ์ใส่สำหรับบูชา มี สมุด ปากกา ดินสอ เข็ม เป็นต้น
1. | วัดนวมินทรราชูทิศ บอสตัน |
2. | คุณปริญดา Ashley |
3. | |
4. | |
5. | |
6. | |
7. | |
8. |
“ลูกนิมิต” ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหินใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ” ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า “ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม”
สรุปแล้ว “ลูกนิมิต” ก็คือ ลูกหินกลม ๆ มีขนาดเท่าบาตรของพระสงฆ์ ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า ตรงไหนเป็นเขตของอุโบสถหรือโบสถ์เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง เพราะคำว่า “ นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย”
อุโบสถ (อ่านว่า อุโบสด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง “สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้มาอุปสมบทบรรพชามากขึ้น อีกทั้งภายในพระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการะบูชา และ ร่วมทำบุญเป็นจำนวนมากพระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวร และมักมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม
ยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง สถานที่ที่พระสงฆ์ ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ในวันพระทุกกึ่งเดือน ขึ้น ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ หรือ การอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุ หรือการสวดเข้าอยู่ปริวาสกรรม ของพระภิกษุสงฆ์ หรือสังฆกรรมใด ๆ ที่ต้องเกิดขึ้นในอุโบสถ ตามพระวินัยบัญญัติ เรียกตามคำวัดว่า อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์
๑. การเข้าจำ คือการรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า รักษาอุโบสถ และรักษาอุโบสถศีล
๒. วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัส วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถกัน เรียกว่า วันอุโบสถ
๓. วันที่พระสงฆ์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่า วันอุโบสถ
๔. การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์ เรียกว่า การทำอุโบสถ
๕. โบสถ์ เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่น สวดพระปติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา
๖. โบสถ์ เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือ โรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม
๗. โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่าพระราชทาน วิสุงคามสีมา ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมา ก่อน
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาและมีผู้มาขออุปสมบทบรรพชา เป็นพระสาวก พระพุทธองค์ทรงประทาน “เอหิภิกขุ” ให้ได้สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ดังประสงค์ เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์มากถึงจำนวน ๖๐ รูปเป็นพระสงฆ์สาวกในเวลาอันรวดเร็วนั้น พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้น กระจายกันออกจาริกไปยังทิศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ จึงทำให้ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาประสงค์ที่จะขออุปสมบทบรรพชา เป็นพระสาวกมากขึ้น พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็จะนำผู้ที่จะขออุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงพระเมตตาประทานการอุปสมบทบรรพชาให้แด่ผู้มีจิตศรัทธาเหล่านั้น ซึ่งพระภิกษุสงฆ์สาวกที่ออกจาริกเผยแผ่พระธรรมคำสอนและพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่าง ๆ นั้นต่างก็อยู่ห่างไกลจากที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ จึงทำให้การเดินทางกลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นไปด้วยความยากลำบาก
เมื่อเป็นดังนี้ พระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงความลำบากของเหล่าพระสงฆ์สาวกในการเดินทาง พระองค์จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ โดยมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นทำการอุปสมบทบรรพชาให้กับผู้มีความเลื่อมใสศรัทธา โดยมิต้องสร้างความยุ่งยากลำบากในการนำผู้ที่ประสงค์จะขออุปสมบทบรรพชามาเข้าเฝ้าขอบรมพุทธานุญาตจากพระพุทธองค์ เป็นการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลำบากแก่เหล่าพระสงฆ์สาวกและการที่พระภิกษุสงฆ์สาวกออกไปอยู่ห่างไกลจากพระพุทธองค์นั้น ประการหนึ่งนั้นก็เท่ากับห่างจากการฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นพระธรรม พระวินัยต่าง ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้พระสงฆ์สาวกปฏิบัติตามนั้นยังไม่มีการจดบันทึกรวบรวมไว้เป็นคัมภีร์ หรือรวบรวมเป็นพระไตรปิฏกจัดแยกหมวดหมู่ดังเช่นปัจจุบัน ดังนั้น พระธรรม พระวินัยต่าง ๆ นั้น จึงต้องอาศัยการจดจำท่องจำโดยการสวดสืบต่อ ๆ กัน เรียกว่าการสวดพระปาติโมกข์ อีกทั้ง เมื่อมีเหตุการณ์ใดที่พระสงฆ์สาวกจะต้องตัดสินใจร่วมกัน ให้พระสงฆ์ได้มีการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา หรือทำกิจบางประการร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้กำหนดให้พระสงฆ์ต้องประชุมร่วมกันหรือที่เรียกว่า ทำสังฆกรรม คือทำกิจของสงฆ์ให้สำเร็จลุล่วง เช่น การทบทวนพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ หรือเรียกว่า การสวดพระปาติโมกข์ การอุปสมบทบรรพชา หรือการบวชพระ การกรานกฐิน และการปวารณากรรม เป็นต้น โดยกำหนดให้ทำสังฆกรรม ในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้น เพื่อมิให้ฆราวาสมายุ่งเกี่ยวกับกิจของสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากในสมัยต้นพุทธกาลนั้นพระภิกษุยังไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน
แม้ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธจะมีศรัทธาถวายพื้นที่สวนไผ่ของราชวงศ์ ให้เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อ วัดเวฬุวัน ให้พระภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานได้อยู่อาศัย แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าตามธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อพระสงฆ์ต้องจาริกไปยังที่ต่าง ๆ จึงทรงดำริให้หมายเอาวัตถุบางอย่าง เป็นเครื่องกำหนดเขตแดนขึ้น เรียกว่า การผูกสีมา ซึ่งคำว่า “สีมา” ที่แปลว่า “เขตแดน” ซึ่งพระพุทธองค์ได้กำหนดไว้มี ๘ ประการ และเรียกเครื่องหมายบอกเขตแดนนี้ว่า “นิมิต” แต่นิมิตเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทำให้การกำหนดเขตแดนที่จะทำสังฆกรรมกำหนดสถานที่ประชุมสงฆ์ทำได้ยากและมักคลาดเคลื่อน เช่น หากใช้ต้นไม้เป็นสิ่งบอกเขต แต่เมื่อต้นไม้นั้นล้มตายลง หรือหักโค่นจนตายไป ก็ทำให้เขตที่อาศัยต้นไม้นั้นเป็นสัญลักษณ์ก็จะคลาดเคลื่อนไป
ต่อมาจึงได้มีการพัฒนากำหนดนิมิตขึ้นใหม่อีกประเภทหนึ่งขึ้นแทน คือ เป็นนิมิตที่จัดสร้างหรือทำขึ้นเฉพาะ เช่น ขุดบ่อน้ำ คูน้ำ สระน้ำ และก้อนหิน โดยเฉพาะก้อนหินเป็นที่นิยมกันมากเพราะทนทานและเคลื่อนย้ายได้ยาก ครั้นเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงได้มีการประดิษฐ์ก้อนหินให้เป็นลูกกลม ๆ ประมาณเท่าบาตรของพระสงฆ์เป็นอย่างน้อย เป็นเครื่องหมายที่ค่อนข้างถาวรขึ้นแทนและเรียกกันว่า “ลูกนิมิต” ดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันรวมถึงมีการเรียกเขตแดนที่ใช้ทำสังฆกรรมนี้ว่า “อุโบสถ หรือ โบสถ์” ซึ่งสมัยก่อนโบสถ์คงมีลักษณะตามธรรมชาติมากกว่าจะเป็นถาวรวัตถุเช่นปัจจุบัน และเมื่อมี “ลูกนิมิต” เป็นเครื่องหมายบอกเขต ต่อมาก็มีพิธีที่เรียกว่าการ “ฝังลูกนิมิต” ขึ้นด้วย
สีมา แปลว่า เขต หรือ แดน สีมานั้น มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑.พัทธสีมา คือ เขตที่สงฆ์กำหนดเอาเอง แปลว่า แดนที่ผูก
๒.อพัทธสีมา คือ เขตที่เขากำหนดไว้ตามปกติของบ้านเมือง แปลว่า แดนไม่ได้ผูก
นิมิต หรือ วัตถุที่ใช้เป็นเครื่องหมายเขตแห่งสีมา มี ๘ ชนิด คือ
๑. ภูเขา หรือ ปพฺพโต
๒. ศิลา หรือ ปาสาโณ
๓. ป่าไม้ หรือ วนํ
๔. ต้นไม้ หรือ รุกฺโข
๕. จอมปลวก หรือ วมฺมิโก
๖. หนทาง หรือ มคฺโค
๗. แม่น้ำ คูน้ำ หรือ นที
๘. สระน้ำ หนองน้ำ หรือ อุทกํ
(พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ข้อที่ ๑๕๔ หน้า๑๗๒)
พัทธสีมา ๓ ชนิด (แต่ตามคัมภีร์มหาวรรคมี ๔ ชนิด) คือ
๑. ขัณฑสีมา คือ สีมาผูกเฉพาะโรงอุโบสถ
๒. มหาสีมา คือ สีมาผูกรอบวัด
๓. สีมาสองชั้น คือ สีมาที่มีขัณฑสีมาอยู่ภายในมหาสีมา
๔. นทีปารสีมา คือ สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำ
อพัทธสีมา ๓ ชนิด (หากนับสีมาสังกระเข้าด้วยมี ๔ ชนิด) คือ
๑. คามสีมา แดนบ้านที่ฝ่ายอาณาจักรจัดไว้
๒. สัตตัพภันตรสีมา เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นในป่าชั่ว ๗ อัพภันดร
๓. อุทกุกเขปสีมา เขตแห่งสามัคคีชั่ววักน้ำสาด
๔. สีมาสังกระ สีมาที่คาบเกี่ยวปะปนกัน
สีมาสังกระ คือ การสมมติสีมาคาบเกี่ยวกัน เช่น การสมมติสีมาใหม่คาบเกี่ยวกับสีมาเดิม แต่สงฆ์ไม่รู้ว่าเป็นสีมาเดิม ทั้งไม่ได้ทำการสวดถอนก่อน สีมาใหม่ที่สมมติขึ้นนั้นย่อมวิบัติใช้ไม่ได้
การขอพระราชทานวิสุงคามสีมานั้น เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อถวายที่ดินบริเวณนั้นให้เป็นสิทธิ์ของสงฆ์ ที่เรียกว่าขอ วิสุงคามสีมา คือ เขตแดนที่ได้พระราชทานแก่สงฆ์ เพื่อใช้เป็นที่ทำสังฆกรรม เป็นการแยกส่วนบ้านออกจากส่วนวัด ซึ่งคำว่า วิสุง แปลว่า ต่างหาก คาม แปลว่า บ้าน การที่ต้องขอพระบรมราชานุญาตเพราะถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของแผ่นดิน การจะกระทำการใด ๆ บนพื้นแผ่นดินจึงต้องขอพระบรมราชานุญาตก่อน เมื่อมีพระบรมราชานุญาตพระราชทานที่ดินนั้นเป็นเขตพุทธาวาสแก่หมู่สงฆ์แล้ว ที่ดินที่พระราชทานนั้นก็เป็นสิทธิ์ขาดของพระพุทธศาสนา ซึ่งใคร ๆ จะทำการซื้อขาย จำหน่ายจ่ายโอนมิได้โดยเด็ดขาด ถือเป็นเขตพุทธาวาส คือ เป็นอาวาสหรือเขตแดนของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา หรือสิทธิของพระภิกษุสงฆ์โดยถูกต้องสมบูรณ์
จากนั้น “การฝังลูกนิมิต” นี้ มีชื่อเรียกเป็นทางการอีกอย่างหนึ่งว่าการ “ผูกพัทธสีมา” ซึ่งก็แปลว่าเขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาต โดยปัจจุบันจะเริ่มจากพระสงฆ์ ประชุมพร้อมกันในอุโบสถ หรือโบสถ์ เพื่อทำพิธีสวดถอน เพื่อให้แน่ใจว่ามิให้อาณาบริเวณที่จะกำหนดเป็นเขตแดนนี้ไปทับที่ที่เคยเป็นสีมาเดิมหรือสีมาเก่ามาก่อน หรือเป็นที่ที่มีเจ้าของครอบครองอยู่ก่อน เมื่อพระสงฆ์สวดถอนเป็นแห่ง ๆ ไปตลอดสถานที่ที่กำหนดเป็นเขตแดนทำสังฆกรรมแล้วว่า มีอาณาเขตเท่าใด โดยทั่วไป ลูกนิมิตที่ใช้ผูกสีมาจะมีจำนวน ๙ ลูก โดยฝังตามทิศต่าง ๆ โดยรอบอุโบสถทั้ง ๘ ทิศ ๆ ละ ๑ ลูก และฝังไว้กลางอุโบสถอีก ๑ ลูก เป็นลูกเอก เมื่อจะผูกสีมาพระสงฆ์จำนวน ๔ รูป หรือจตุวรรคสงฆ์ ก็จะเดินตรวจลูกนิมิตที่วางไว้ตามทิศต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ทิศตะวันออกเป็นต้นไปเรียกว่า สวดทักสีมา เวียนขวาไปจนครบทั้ง ๘ ทิศ หรือ ๘ ลูกนิมิต จนครบทุกทิศและมาจบที่ทิศตะวันออกอีกครั้ง เพื่อให้แนวนิมิตบรรจบกันเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม เมื่อสวดทักนิมิตจบแล้ว ก็จะกลับเข้าไปประชุมสงฆ์ในอุโบสถ และสวดประกาศสีมาอีกครั้ง หลังจากนั้นก็จะทำการตัดลูกนิมิตลงหลุมเพื่อกลบ แล้วสร้างเป็นซุ้มหรือก่อเป็นฐานตั้งใบสีมาต่อไป
ซึ่งใบสีมานี้จะถูกตั้งหรือตั้งครอบอยู่บนลูกนิมิตที่ถูกฝังอยู่ภายใต้พื้นดิน ซึ่งที่เป็นดังนี้ก็อาจเพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายว่าสถานที่ตรงบริเวณใดเป็นที่ประดิษฐานลูกนิมิตไว้ภายใต้เพื่อให้รู้เขตแดนของวิสุงคามสีมาที่เป็นลูกนิมิตฝังอยู่ให้สังเกตได้ชัดเจนและง่ายขึ้น และใบเสมานั้นก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นตามแต่ช่างจะออกแบบให้สวยงามโดยนำนิมิตหมายเอาสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาประดิษฐ์เป็นลวดลายของใบเสมา เช่น เครื่องหมายธรรมจักร สัญลักษณ์กวางหมอบ หรือรูปเทวดา
ลูกนิมิตทั้ง ๙ ลูกนั้น จำนวน ๑ ลูก ซึ่งถือเป็นนิมิตเอกนั้นจะตั้งอยู่กลางอุโบสถเพื่อถวายการบูชาพระพุทธเจ้า ส่วนจำนวน ๘ ลูก ถูกจัดให้อยู่ตามทิศต่าง ๆ โดยรอบอุโบสถ ซึ่งทิศที่อยู่รอบอุโบสถนั้นเรียกว่าทิศทั้ง ๘ มีความหมายที่เป็นมงคล คือ เพื่อเป็นสัญลักษณ์หรือองค์แทนพระอรหันต์สาวก และเพื่อเป็นการบูชา พระอรหันต์สาวกผู้ใหญ่ประจำทิศ หรืออีกนัยหนึ่งนั้นเป็นองค์แทนพระอรหันต์สาวกที่รักษาอุโบสถหรือเขตพุทธาวาสของพระพุทธเจ้า และเป็นการบูชาเทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ ให้เกิดบุญและสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว โดยแต่ละลูกมีความหมายดังนี้
๑. นิมิตลูกเอก เป็นลูกที่มีความสำคัญมาก ถือเป็นประธานของลูกนิมิตทั้งหมด ฝังไว้บริเวณใจกลางอุโบสถ หรือบางท่านเรียกว่า สะดือโบสถ์ ก็มี รายล้อมด้วยลูกนิมิตอีก ๘ ลูก เป็นการถวายการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดาเอกของพระพุทธศาสนาผู้เป็นพระประมุขแห่งสงฆ์ เป็นการอัญเชิญและบูชาพระเกตุ เทพผู้คุ้มครองสถานที่ส่วนกลางของอุโบสถ
๒. ทิศตะวันออก (ทิศบูรพา) ลูกที่อยู่ด้านหน้าของอุโบสถ ถือเป็นลูกบริวารที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ เป็นลูกแรกที่ต้องเริ่มนับ ยกเว้นลูกกลางสะดือโบสถ์ ดังนั้น จึงเปรียบนิมิตลูกนี้เหมือนปฐมสาวก หรือ พระสาวกองค์แรกของพระพุทธเจ้า คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระอัครสาวกผู้ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้รู้ราตรีกาลนาน คือ มีความรู้มาก ผ่านโลกมามาก เนื่องจากท่านเป็นผู้เดียว ที่เมื่อยังเป็นดาบสที่ทำนายพระราชกุมารรคือพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระประสูติกาล และทำนายว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และพระดาบสก็เฝ้ารอการบรรพชาของพระองค์เพื่อจะได้ออกบวชตามพระองค์ และถวายตัวเป็นพระอัครสาว การฝังลูกนิมิตไว้ด้านทิศตะวันออกเพื่อเป็นการบูชาพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นการอัญเชิญและบูชาพระจันทร์ เทพผู้คุ้มครองสถานที่ส่วนด้านหน้าของอุโบสถ
๓. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศอาคเนย์) หรือด้านหน้าฝั่งขวาของอุโบสถ การฝังลูกนิมิตไว้ทางทิศนี้ เพื่อบูชา พระมหากัสสปะเถระ พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้ทรง
ธุดงค์คุณ ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานสงฆ์ทำสังคายนา เป็นการอัญเชิญและบูชาพระอังคารเทพผู้คุ้มครองสถานที่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุโบสถอีกองค์หนึ่ง
๔. ทิศใต้ (ทิศทักษิณ) เป็นลูกนิมิตที่อยู่ด้านขวาของอุโบสถ เป็นการบูชาพระสารีบุตร พระอัครสาวกฝ่ายขวา พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางปัญญา เป็นการอัญเชิญและบูชาพระพุธ เทพผู้คุ้มครองสถานที่ด้านทิศใต้ของอุโบสถ
๕. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ทิศหรดี) หรือทิศด้านหลังฝั่งขวาของอุโบสถ การฝังลูกนิมิตทางด้านทิศนี้ เพื่อบูชาพระอุบาลีเถระ พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางวินัย และเป็นการอัญเชิญและบูชาพระเสาร์ ซึ่งเป็นเทพหนึ่งในนพเคราะห์ทั้ง ๙ คือ เทพผู้ดูแลคุ้มครองสถานที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุโบสถ
๖. ทิศตะวันตก (ทิศประจิม) เป็นลูกนิมิตที่ฝังอยู่ด้านหลังของตัวอุโบสถ เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของเงา ซึ่งเปรียบได้กับพระเถระที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก คอยเฝ้าติดตามดูแลปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์เหมือนเงาตามตัว ดังนั้น การฝังลูกนิมิตทางทิศนี้ เพื่อเป็นการบูชา พระอานนท์เถระ พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางพหูสูตและเป็นมหาพุทธอุปัฎฐากแด่พระพุทธเจ้า และอัญเชิญบูชาพระพฤหัสบดี เทพคุ้มครองทิศตะวันตก
๗. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ทิศพายัพ) การฝังลูกนิมิตที่ฝังอยู่ด้านหลังฝั่งซ้ายของอุโบสถทางด้านทิศนี้ เป็นการบูชา พระควัมปติเถระ พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางลาภสักการะและรูปงาม ท่านเป็นพระอรหันต์องค์ที่ ๑๐ ของโลก และเป็นสหาย ๑ ใน ๔ ของพระยสะกุลบุตรอีกทั้งเป็นบุตรของนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสในวันก่อนที่พระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และอัญเชิญบูชาพระราหู ซึ่งเป็นเทพประจำทิศนี้
๘. ทิศเหนือ (ทิศอุดร) ลูกนิมิตที่ฝังทางด้านทิศนี้ถือเป็นลูกที่มีความสำคัญอีกลูกหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านซ้าย ของตัวอุโบสถ เพื่อเป็นการบูชา พระมหาโมคคัลลานะ พระอัครสาวกฝ่ายซ้ายของพระพุทธเจ้า ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางแสดงฤทธิ์ และอัญเชิญบูชาพระศุกร์เทพคุ้มครองรักษาประจำทิศนี้
๙. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิศอีสาน) ลูกนิมิตที่ฝังอยู่ด้านหน้าฝั่งซ้ายของอุโบสถทางทิศเหนือนี้ เป็นสัญญลักษณ์แห่งความผูกพัน มีผลทางด้านจิตใจ ถือเป็นทิศสุดท้าย เพื่อเป็นการบูชา พระราหุลเถระ ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ พระอัครสาวกผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางการศึกษา และอัญเชิญบูชาพระอาทิตย์เทพผู้คุ้มครองรักษาประจำทิศ
ด้วยเหตุที่ในสมัยก่อน การที่จะสร้างอุโบสถได้หลังหนึ่ง ๆ หรือแม้จะซ่อมแซมอุโบสถเก่าให้สวยงามขึ้นมิใช่เรื่องง่าย ๆ และต้องใช้ระยะเวลานานมาก ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า หากใครได้มีโอกาสทำบุญ “ฝังลูกนิมิต” หรือว่าได้ร่วมสร้างอุโบสถไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา คือ การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า และเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้พระได้ใช้ทำสังฆกรรมนั้น. ในอรรถกถา พระอรรถกถาจารย์ได้พรรณาไว้ว่าจะมีอานิสงส์ถึง ๖ ประการด้วยกัน คือ
๑.ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บทุกชาติ ปราศจากอุปัททวะ ทั้งหลาย
๒.ไม่เกิดในตระกูลต่ำ
๓.หากเกิดในมนุษย์โลก ก็จะเกิดเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์
๔.หากเกิดในเทวโลก ก็จะเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช
๕.จะสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มีผิวพรรณผ่องใส
๖.มีอายุยืนนาน
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน ว่า
อานิสงส์การปฏิบัติตามพระวินัยพุทธบัญญัติ
๑.ทำให้พระสงฆ์มีเขตดำเนินกิจการส่วนรวมที่เรียกว่า สังฆกรรม
๒.ทำให้สามารถสร้างโบสถ์หรือทำาให้โบสถ์สำาเร็จผลในการใช้ทำสังฆกรรม
๓.ทำให้การสร้างวัด สำเร็จแท้จริงและวัดนั้นมีฐานะ สมบรูณ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
๔.ทำให้ศาสนกิจทั้หลายดำเนินไปได้ด้วยดีโดยสะดวกปลอดโปร่ง
อานิสงส์การปฏิบัติตามประเพณีงานบุญ
๑.ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมในกิจการพระพุทธศาสนา และได้เรียนรู้เรื่องราวในพระศาสนาของตน
๒.ชาวพุทธได้มีส่วนร่วมสร้างโบสถ์และทำให้วัดมีฐานะสมบูรณ์
๓.ชาวพุทธฝ่ายคฤหัสถ์ได้มาสนับสนุนศาสนกิจของพระสงฆ์เป็นการแสดงความสามัคคีของพุทธบริษัททั้ง ๔
๔.ชาวพทุธได้มีโอกาสทำบุญบำเพ็ญกศุลกรรมฝึกอบรม กาย วาจา ใจ ให้เจริญใน ทาน ศีล ภาวนา
๕.ชาวพทุธได้ร่วมสืบต่ออายุพระพทุธศาสนา โดยช่วยให้กิจการงานพระศาสนาทั้งหลาย เช่น การอุปสมบท และสังฆกรรมทุกอย่างที่จะมีมาตลอดกาลยาวนานข้างหน้าดำเนินไปได้ เพื่อให้พระพทุธศาสนารุ่งเรืองมั่นคง นำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่มหาชนอย่างยั้งยืนนาน
๖.ชาวพทุธได้อารมณ์บุญ อันเด่นที่จะแต่งจิตให้เอิบอิ่มด้วยปีติสุขและฝังไว้ในใจให้เป็นกรรมนิมิต เพื่อคติที่ดีสืบต่อไป.
นอกจากนี้ ในพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตนั้นนิยมจะใส่สมุด ดินสอ เข็ม และด้าย เป็นต้น ลงไปในหลุมที่ฝังลูกนิมิตด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นนิมิตหมายแห่งความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ได้สร้างบุญ ซึ่งขอนำมาอรรถาธิบายโดยสังเขป ดังนี้
เข็ม หมายถึง ความเป็นผู้มีปัญญา สามารถรู้แจ้งแทงตลอดอย่างทะลุปรุโปร่ง
ด้าย หมายถึง ความเป็นผู้มีอายุยืนยาวตราบเท่าอายุขัย
ธูป หมายถึง พระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ที่เราทั้งหลายน้อมรำลึกถึงอยู่ ธูปจึงเป็นสัญญลักษณ์แห่งการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เทียน หมายถึง พระธรรมอันแสดงถึงความสว่างไสวประดุจดังประทีปส่องสว่าง ฉะนั้น เทียนจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระธรรม
ดอกไม้ หมายถึง ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดอกไม้จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการบูชาพระสงฆ์ ซึ่งดอกไม้หลากสีสัน เมื่อนำมาใส่แจกันจัดเป็นดอกไม้จึงทำให้เกิดความสวยสดงดงาม อุปมาดังหมู่สงฆ์ที่มาจากต่างตระกูล ต่างครอบครัวเมื่อมาอยู่ร่วมกันในร่มพระพุทธศาสนาแล้วก็ก่อให้กิดความงดงามอย่างยิ่ง
แผ่นทอง หมายถึง ธรรมดาว่า ทองคำ เป็นคุณชาติที่สูงค่าที่นำมาปิดองค์พระ ลูกนิมิต ช่อฟ้า เป็นเครื่อง แสดงให้เห็นถึงความยกย่อง เชิดชูบูชาด้วยใจที่สูงส่ง ผลานิสงส์ย่อมอำนวยผลให้ได้ผลสำเร็จในสิ่งที่เป็น ความงามโดยประการทั้งปวง
สมุด, แผ่นกระดาษ ดินสอ สำหรับจดบันทึกจารึกสิ่งต่าง ๆ ไว้ หมายถึง ความเป็นผู้ทรงจำดี ไม่มีหลงลืมเลือน
อันที่จริงแล้ว “การฝังลูกนิมิต” เพื่อกำหนดเขตทำสังฆกรรม หรือปัจจุบันก็คือ การกำหนดเขตที่เป็นอุโบสถนั้น เป็นกิจของสงฆ์โดยเฉพาะ ฆราวาสหรือชาวบ้านไม่ได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่เนื่องจากปัจจุบันอุโบสถมิเพียงแต่จะเป็นสถานที่ที่สงฆ์ใช้ทำสังฆกรรมเท่านั้นแต่ยังเป็น ศาสนสถานที่พุทธศาสนิกชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ ด้วย อีกทั้ง ไม่ว่าจะสร้างหรือซ่อมแซมอุโบสถขึ้นใหม่จำเป็นต้องมีการผูกสีมาใหม่ทุกครั้ง ดังนั้นทางวัดต่าง ๆ จึงมักจะประกาศเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนได้มาทำบุญสร้างกุศลเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และยังเป็นการยกย่องบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อีกด้วย.
ก. คำสวดถอน
คำสวดถอนติจีวราวิปปวาส
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. โย โส สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส สมฺมโต, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ ตํ ติจีวเรน อวิปฺปวาสํ สมูหเนยฺย. เอสา ตฺติ.
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. โย โส สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส สมฺมโต, สงฺโฆ ตํ ติจีวเรน อวิปฺปวาสํ สมูหนติ. ยสฺสายสฺมโต ขมติ เอตสฺส ติจีวเรน อวิปฺปวาสสฺส สมุคฺฆาโต, โส ตุณฺหสฺส. ยสฺส นกฺขมติ, โส ภาเสยฺย.
สมูหโต โส สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส. ขมติ สงฺฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี, เอวเมตํ ธารยามิ.
คำแปล
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอันสงฆ์ได้สมมติไว้แล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนอยู่ ซึ่งแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรอันสงฆ์สมมติไว้แล้ว การถอนแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั่น ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่งอยู่ ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ขอท่านผู้นั้นพึงพูด
แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรนั่น อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี่ไว้ด้วยอย่างนี้
คำสวดถอนสมานสังวาสสีมา
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยา สา สงฺเฆน สีมา สมฺมตา สมานสํวาสา เอกุโปสถา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ ตํ สีมํ สมูหเนยฺย. เอสา ตฺติ.
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยา สา สงฺเฆน สีมา สมฺมตา สมานสํวาสา เอกุโปสถา, สงฺโฆ ตํ สีมํ สมูหนติ. ยสฺสายสฺมโต ขมติ เอติสฺสา สีมาย สมานสํวาสาย เอกุโปสถาย สมุคฺฆาโต, โส ตุณฺหสฺส. ยสฺส นกฺขมติ, โส ภาเสยฺย.
สมูหตา สา สีมา สงฺเฆน สมานสํวาสา เอกุโปสถา. ขมติ สงฺฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี, เอวเมตํ ธารยามิ.
คำแปล
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงถอนสีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกันไว้แล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนอยู่ ซึ่งสีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน ให้มีอุโบสถเดียวกันไว้แล้ว การถอนสีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนี่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สีมามีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันนั้น อันสงฆ์ถอนแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี่ไว้ด้วยอย่างนี้.
ข. คำสวดสมมติ
คำสวดสมมติสมานสังวาสสีมา
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยาวตา สมนฺตา นิมิตฺตา กิตฺติตา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ เอเตหิ นิมิตฺเตหิ สีมํ สมฺมนฺเนยฺย สมานสํวาสํ เอกุโปสถํ. เอสา ตฺติ.
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยาวตา สมนฺตา นิมิตฺตา กิตฺติตา, สงฺโฆ เอเตหิ นิมิตฺเตหิ สีมํ สมฺมนฺนติ สมานสํวาสํ เอกุโปสถํ. ยสฺสายสฺมโต ขมติ เอเตหิ นิมิตฺเตหิ สีมาย สมฺมติ สมานสํวาสาย เอกุโปสถาย, โส ตุณฺหสฺส. ยสฺส นกฺขมติ, โส ภาเสยฺย.
สมฺมตา สีมา สงฺเฆน เอเตหิ นิมิตฺเตหิ สมานสํวาสา เอกุโปสถา. ขมติ สงฺฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี, เอวเมตํ ธารยามิ.
คำแปล
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้โดยรอบแล้วเพียงไร ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมาให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั่น นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นิมิตระบุไว้แล้วโดยรอบเพียงไร สงฆ์สมมติอยู่ ซึ่งสีมาให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั่น การสมมติสีมาให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน ด้วยนิมิตเหล่านั่น ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันแล้ว ด้วยนิมิตเหล่านั่น ย่อมชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี่ไว้ด้วยอย่างนี้
คำสวดสมมติติจีวราวิปปวาส
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยา สา สงฺเฆน สีมา สมฺมตา สมานสํวาสา เอกุโปสถา, ยทิ สงฺฆสฺส ปตฺตกลฺลํ, สงฺโฆ ตํ สีมํ ติจีวเรน อวิปฺปวาสํ สมฺมนฺเนยฺย, เปตฺวา คามฺจ คามุปจารฺจ. เอสา ตฺติ.
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ. ยา สา สงฺเฆน สีมา สมฺมตา สมานสํวาสา เอกุโปสถา, สงฺโฆ ตํ สีมํ ติจีวเรน อวิปฺปวาสํ สมฺมนฺนติ, เปตฺวา คามฺจ คามุปจารฺจ. ยสฺสายสฺมโต ขมติ เอติสฺสา สีมาย ติจีวเรน อวิปฺปวาสสฺส สมฺมติ, เปตฺวา คามฺจ คามุปจารฺจ, โส ตุณฺหสฺส. ยสฺส นกฺขมติ, โส ภาเสยฺย.
สมฺมตา สา สีมา สงฺเฆน ติจีวเรน อวิปฺปวาโส, เปตฺวา คามฺจ คามุปจารฺจ. ขมติ สงฺฆสฺส; ตสฺมา ตุณฺหี, เอวเมตํ ธารยามิ.
คำแปล
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสมมติสีมา อันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันไว้แล้ว ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้านไว้ นี่เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติอยู่ ซึ่งสีมาอันสงฆ์สมมติให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกันไว้แล้ว ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้านไว้ การสมมติสีมานี้ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจาก ไตรจีวร เว้นบ้านและอุปจารแห่งบ้านไว้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
สีมานั้น สงฆ์สมมติให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่งอยู่ ข้าพเจ้าทรงความนี่ไว้ด้วยอย่างนี้.
1. คณาจารย์ พระไตรปิฏกสำหรับประชาชน เล่ม 2. กทม. บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด 2533.
2. คณาจารย์เลี่ยงเซียงจงเจริญ. วินัยมุขเล่ม 3 ฉบับสมบูรณ์. กทม. เลี่ยงเซียงจงเจริญ.
3. พระครูอรุณธรรมรังษี๖เอี่ยม สิริวณฺโณ). มนต์พิธี. กทม. โรงพิมพ์อักษรสมัย.
4. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กทม. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. 2546.
5. วิรัช ถิรพันธุ์เมธี, ทองใบ ธีรานันทางกุร, น.อ. รศ. คู่มือพระสังฆาธิการ. กทม. สำนักพิมพ์ดวงแก้ว,2546.
6. พระพหรมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),ฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา วัดญาณเวศกวัน, พิมพ์ครั้งที่ 4. 2555
โดย…ธรรมสาธก
ขอเดชะ บุญทาน การกุศล
ปิดนิมิต อุโบสถ ทศพล
เริ่มลูกต้น กลางโบสถ์ โชติตระการ
ปิดนิมิตลูกเอกเสกประสาท งามโอภาสมาสเฉลิมเสริมสัณฐาน
เป็นนิมมิตเตือนตาสาธุการ ท่ามกลางงานบุญพิธีผูกสีมา
เกิดชาติหน้าอย่ารู้เข็ญได้เป็นใหญ่ รูปวิไลเป็นเสน่ห์ดังเลขา
ปิดนิมิต ลูกทิศ “บูรพา” ให้ก้าวหน้า เกียรติยศ ปรากฏไกล
ปิดนิมิต ลูกทิศ “อาคเนย์” ขอให้เทวา ประสิทธิ์ พิสมัย
ปิดนิมิต ลูกทิศ “ทักษิณ”-ศักดิ์ชัย ให้สมใจ สมบัติ วัฒนา
ปิดนิมิต ลูกทิศ “หรดี” ขอให้ชีวิตมั่น ชันษา
ปิดนิมิต ลูกทิศ “ปัจจิม” อิ่มอุรา ปรารถนา ใดได้ ดั่งใจปอง
ปิดนิมิต ลูกทิศ “พายัพ”ดับทุกข์โศก นิราศโรค นิราศภัย ร้ายทั้งผอง
ปิดนิมิต ลูกทิศ “อุดร”กรประคอง ได้เงินทอง สมหมาย ทุกรายการ
ปิดนิมิต ลูกทิศ “อีสาน” ประการท้าย ให้สมหมาย ได้สุข ทุกสถาน
รวมเก้าลูก สุกใส ใจเบิกบาน กว่าจะถึง ซึ่งนิพพาน เมื่อนั้นเทอญ…
นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ อนาคะเต กาเล สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิฯ
โครงการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตและงานสมโภช ๒๐ ปีวัดป่าสันติธรรม พร้อมกำหนดการและคณะกรรมการจัดงานในครั้งนี้
“นิมิต” แปลว่า “เครื่องหมาย” “ลูกนิมิต” หมายถึง “ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหินใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ``
สำหรับพระเถรานุเถระและคณะญาติโยมสาธุชนผู้มีความประสงค์จะเดินทางมาร่วมงานในครั้งนี้สามารถใช้แบบฟอร์มต่างๆด้านล่างนี้
March 15, 2020
July 15, 2017
July 03, 2017
October 17, 2016
For those who plant a grove, who plant a wood,
The Buddha
who build a bridge, who provide a place to drink,
who provide a well, and who provide a shelter,
their merit constantly increases, both by night and by day.